Freeze-dried fruit ผลไม้ฟรีซดราย ประโยชน์มีมาก คุณค่าทางอาหารคบ

Freeze-dried fruit เป็นการแปรรูปอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ วัตถุประสงค์คือเพื่อที่จะทำให้อาหารนั้นๆ อยู่ในสภาพที่คล้ายของเดิมมากที่สุด ทั้งรสชาด และ กลิ่น

วิธีการที่เขาเอามาแช่เยือกแข็ง (ยิ่งกว่าแช่แข็ง) แบบกระทันหัน ทำให้รสชาด หรือสารอาหาร อายุของอาหาร แม้กระทั่งกลิ่น ก็ถูกหยุดเอาไว้ด้วยอุณหภูมิต่ำกว่า -40 องศา แล้วเอาเข้าเครื่องที่ดูดเอาความชื้นออกจากอาหารให้หมด

ดังนั้นผลคือ…อาหารจะแห้ง และ กรอบ!!!

และถ้าเอาออกมาทิ้งไว้ที่อุณหภูมิปกตินั้นความชื้นในอาการจะทำให้อาหาร Freeze Dried นั้นนิ่มลง คือการที่ความชื้นในอากาศเข้าไปทดแทน…แต่กลิ่น, รสชาด, ยังอยู่ครับ

 

ประโยชน์ของผลไม้ฟรีซดราย  Freeze-dried fruit

ผลไม้ฟรีซดราย ประโยชน์ที่มีมากกว่าที่คุณคิด โดยผลไม้จะถูกทำให้แข็งด้วยความเย็นแต่ก็ไม่ได้ลดคุณประโยชน์ของผลไม้ลงเลย นอกจากคุณประโยชน์และสารอาหารยังอยู่ครบถ้วน

  • รักษาคุณภาพ มีสีใกล้เคียงกับผลไม้สดการฟรีซดนำไปลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทำให้คุณภาพสีของผลไม้ยังคงดีไม่มีเนาเสีย รู้สึกเหมือนกินผลไม้สด
  • รักษาสารอาหารเทียบเท่ากับผลไม้สด ถึงแม้จะมีการถนอมอาหารโดยการทำให้แข็งด้วยความเย็นแต่ผลไม้ฟรีซดราย ประโยชน์ยังมีเทียบเท่ากับผลไม้สดรักษาคุณภาพสารอาหารได้ดี ยังเป็นผลไม้ที่กินแล้วไม่อ้วน
  • เก็บในอุณหภูมิห้องมากกว่านานกว่า 20 ปี สิ่งที่ดีของ Freeze Dried คือการเก็บไว้ได้ยาวนานกว่า โดยผลไม้ไม่เสียสามารถเก็บไว้ได้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ต้องแช่เย็นได้มากกว่า 20-30 ปี
  • รสชาติดี กินง่ายกว่าผลไม้สด ใครที่ไม่ชอบกินผลไม้สด เพราะความเปรี้ยว ฝาด ไม่ถูกปากลองกินผลไม้ฟรีซดราย ที่รับรองว่ากินง่ายกว่า รสชาติดีกว่าผลไม้สด กลิ่นอ่อนกว่า รสชาติอ่อนกว่า และยังท่านง่ายกว่า เหมาะสำหรับคนชอบกินผลไม้ หรือไม่ชอบกลิ่นแรง ๆ

แหล่งที่มาของข้อมูลและรูปภาพ : https://promotions.co.th

Pantip คุณสมาชิกหมายเลข 1085247 : https://pantip.com/topic/32777090

หลักการทานดาร์กช็อกโกแลตและสุขภาพ

ช็อกโกแลตมีมาตั้งแต่ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยนั้น ชาวมายาจากอเมริกากลาง ซึ่งเป็นผู้ชื่นชอบช็อกโกแลตกลุ่มแรก
ดื่มช็อกโกแลตเป็นเครื่องดื่มหมักรสขมผสมกับเครื่องเทศหรือไวน์ แต่ปัจจุบัน ช็อกโกแลตที่มีรูปร่างทรงต่างๆ ที่วางเรียงรายขายกันใน Supermarket ที่เราเห็นนั้นคือผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายจากขั้นตอนต่างๆ เพราะทุกอย่างล้วนเริ่มต้นจากเมล็ดโกโก้ที่มีขนาดใหญ่กว่าฝ่ามือของเรา เมล็ดโกโก้จะถูกแยกออกจากฝัก หมัก ตากแห้ง และคั่วจนได้สิ่งที่เราเรียกว่าเมล็ดโกโก้ จากนั้นจึงแยกเปลือกของเมล็ดโกโก้ออกจากเนื้อหรือเมล็ดโกโก้ จากนั้นก็บดเมล็ดโกโก้ให้เป็นของเหลวที่เรียกว่าเหล้าช็อกโกแลต และแยกออกจากส่วนที่มีไขมันหรือเนยโกโก้ จากนั้นจึงกลั่นเหล้าโกโก้ให้บริสุทธิ์อีกครั้งเพื่อผลิตโกโก้และช็อกโกแลตที่เรารับประทาน หลังจากแยกเมล็ดโกโก้ออกแล้ว เมล็ดโกโก้จะถูกบดให้เป็นผงโกโก้ที่ใช้ในการอบหรือเครื่องดื่ม

  • ดาร์กช็อกโกแลตประกอบด้วยโกโก้ เนยโกโก้ และน้ำตาล 50-90%
  • ในขณะที่ช็อกโกแลตนมประกอบด้วยโกโก้ เนยโกโก้ นม และน้ำตาล 10-50% แม้ว่าดาร์กช็อกโกแลตไม่ควรมีนม แต่ก็อาจจะมีนมปนเปื้อนระหว่างการแปรรูปเนื่องจากมักใช้เครื่องจักรเดียวกันในการผลิตนมและดาร์กช็อกโกแลต
  • ช็อกโกแลตผสมอาจเติมเนย น้ำมันพืช สีหรือรสชาติเทียม
  • ไวทช็อคโกแลต ไม่มีโกโก้ใดๆ และทำมาจากเนยโกโก้ น้ำตาล และนมเท่านั้น

ดาร์กช็อกโกแลต ผลิตจากเมล็ดโกโก้เช่นเดียวกับช็อกโกแลตประเภทอื่น แต่ต่างกันตรงที่มีสัดส่วนของปริมาณโกโก้ที่สูงกว่า ดาร์กช็อกโกแลตที่วางขายส่วนใหญ่จะมีเปอร์เซ็นต์ของผงโกโก้ ดังนี้

  • ผงโกโก้ 50%: มีรสชาติทานแล้วยังมีรสหวาน
  • ผงโกโก้ 70%: มีรสชาติขมขึ้นมาเล็กน้อย ผู้ที่ดื่มกาแฟดำ 100% ปริมาณโกโก้เท่านี้สามารถทานได้
  • ผงโกโก้ 80%: รสชาติขม นิยมเอาไปทำขนม อาหาร หรือใส่ในเครื่องดื่มมากกว่า
  • ผงโกโก้ 90%: รสชาติขมมาก และมีรสเปรี้ยวที่ติดปาก

ประโยชน์ของดาร์กช็อกโกแลต

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดการอักเสบ ลดการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งหลายการศึกษาพบว่าสารโพลีฟีนอลจะช่วยเสริมให้หลอดเลือดแข็งแรง มีส่วนช่วยเพิ่มไขมันคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งช่วยลดการอักเสบและการก่อตัวของลิ่มเลือดได้
  • ลดระดับความดันโลหิต การทานดาร์กช็อกโกแลตสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ช่วยลดความดันโลหิต ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ป้องกันเส้นเลือดอุดตันและป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว
  • ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากดาร์กช็อกโกแลตอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายมากมาย จึงช่วยบำรุงเลือดทำให้เกิดการไหลเวียนโลหิตได้ดีขึ้น และเป็นการป้องกัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูงได้ไปในตัว
  • ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี HDL และลดไขมันไม่ดี LDL ในร่างกาย ใน American Journal of Clinical Nutrition ระบุไว้ว่า ในโกโก้และดาร์กช็อกโกแลตจะมีสารฟลาโวนอยด์ และโพลีฟีนอลในดาร์กช็อกโกแลต สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีหรือ LDL และเพิ่มคอเลสเตอรอลดีอย่าง HDL ในเลือดได้
  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง สารฟลาโวนอยด์ในดาร์กช็อกโกแลต มีฤทธิ์ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งผลให้ออกซิเจนและเลือดลำเลียงไปสู่สมองได้ดี ทำให้เราจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นไปด้วย
  • ช่วยลดความเครียด จากที่มีการศึกษาพบว่า คนที่ทานดาร์กช็อกโกแลตปริมาณ 40 กรัมทุกวันนาน 2 สัปดาห์ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนแห่งความเครียดลดลง เมื่อเทียบกับวันแรกที่เริ่มทาน

แม้ดาร์กช็อกโกแลตจะมีประโยชน์กับร่างกาย แต่หากทานในปริมาณที่มากเกินไปก็จะได้รับน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง ซึ่งส่งผลเสียกับร่างกาย จึงควรทานในปริมาณที่เหมาะสม คือ 20 – 30 กรัม หรือ 1 ชิ้นเล็ก ต่อวัน และควรเลือกช็อกโกแลตที่มีส่วนผสมของโกโก้อย่างน้อย 70 % ขึ้นไปเนื่องจากจะมีส่วนประกอบของน้ำตาลน้อย และมีสารฟลาโวนอยด์สูง

ดาร์กช็อกโกแลตนอกจากจะมีน้ำตาลน้อยกว่าช็อกโกแลตประเภทอื่นแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุต่าง ๆ อีกด้วย เช่น

  • ฟลาโวนอยด์
  • ธาตุเหล็ก
  • ทองแดง
  • สังกะสี
  • แมกนีเซียม
  • ฟอสฟอรัส เป็นต้น

หลักการทานช็อกโกแลต

เนื่องจากรสขมจะเพิ่มขึ้นตามเปอร์เซ็นต์ของโกโก้ที่มากขึ้น ลองหยิบช็อกโกแลตชิ้นเล็กๆ แล้วปล่อยให้ละลายช้าๆ ในปาก เทคนิคนี้อาจให้ประสบการณ์ที่แตกต่างและเป็นที่น่าพึงพอใจมากกว่าการเคี้ยวและกลืนช็อกโกแลตอย่างรวดเร็ว

ข้อควรระวังในการรับประทาน

ยิ่งโกโก้มีเปอร์เซ็นต์สูงเท่าไร รสขมก็จะยิ่งมากขึ้น ปริมาณคาเฟอีนก็จะยิ่งสูง แม้ว่าดาร์กช็อกโกแลตจะมีคาเฟอีนอยู่บ้าง แต่ปริมาณน้อยมากจึงไม่ส่งผลให้นอนไม่หลับหรือใจสั่น

เอกสารอ้างอิง

https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/food-features/dark-chocolate/
https://www.medparkhospital.com/lifestyles/health-benefits-of-dark-chocolate

ผงโกโก้

รู้หรือไม่ ทำไมถึงใส่ผงโกโก้ในเค้กกาแฟ ??

การใส่ผงโกโก้เล็กน้อยลงในเค้กกาแฟมีเหตุผลหลายประการ:

เสริมรสชาติ:

ผงโกโก้ช่วยเพิ่มความเข้มข้นและความซับซ้อนของรสชาติกลมกลืนกับรสกาแฟ เนื่องจากกาแฟและโกโก้มีโน้ตรสชาติที่เข้ากันได้ดี

ปรับสมดุลรสชาติ:

ช่วยลดความเปรี้ยวของกาแฟ โดยเฉพาะถ้าใช้กาแฟที่มีความเปรี้ยวสูงเพิ่มความหวานและความขมเล็กน้อย ทำให้รสชาติโดยรวมกลมกล่อมขึ้น

ปรับปรุงสีสัน:

ช่วยให้เค้กมีสีเข้มขึ้น ดูน่ารับประทานและเป็นเค้กรสกาแฟมากขึ้น

กลบกลิ่นไข่:

ผงโกโก้สามารถช่วยลดกลิ่นไข่ที่อาจเด่นชัดในเค้กบางสูตร

เพิ่มความหลากหลายของรสชาติ:

ทำให้เค้กมีรสชาติคล้ายโมคค่า ซึ่งเป็นที่นิยมในเครื่องดื่มกาแฟ

Cr.Cooking Station

Panna Cotta (พานาคอตต้า) ขนมหวานสายเฮลท์ตี้ จากอิตาลี

ย้อนรอยประวัติ “Panna Cotta” (พานาคอตต้า) ขนมหวานยอดนิยมจากอิตาลี
Panna Cotta” (พานาคอตต้า) เป็นขนมหวานเนื้อครีมนุ่มละมุนสัญชาติอิตาเลียน ทำมาจากครีม นม น้ำตาล และเจลาติน โดยทั่วไปจะปรุงรสด้วยวานิลลา เสิร์ฟพร้อมกับซอสผลไม้ คาราเมล หรือช็อกโกแลต
.
ต้นกำเนิดของ Panna Cotta มีประวัติค่อนข้างคลุมเครือ แต่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่ามีต้นกำเนิดมาจากแคว้นพีดมอนต์ (Piedmont ) ทางตอนเหนือของอิตาลี โดยสูตรดั้งเดิมที่ได้รับการบันทึกไว้ระบุว่า Panna Cotta ถูกคิดค้นโดยหญิงสาวชาวฮังการีที่อาศัยอยู่ในอิตาลีช่วงต้นศตวรรษที่ 19
.
Panna Cotta ในยุคแรกทำขึ้นโดยใช้ส่วนผสมง่าย ๆ ที่มีในแคว้นพีดมอนต์ ได้แก่ ครีม นม น้ำตาล และเจลาติน ซึ่งในอดีตจะทำโดยใช้กระดูกปลาต้มเป็นเจลาตินธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อการผลิตเจลาตินเริ่มเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม เจลาตินแบบผงก็ได้รับการพัฒนาขึ้น จนกลายมาเป็นส่วนผสมหลัก ทำให้ Panna Cotta มีเนื้อสัมผัสที่สม่ำเสมอ และสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
.
นอกจากประวัติดังกล่าวแล้ว หลายคนยังเชื่อว่า Panna Cotta มีต้นกำเนิดที่เก่าแก่กว่านั้น เพราะในช่วงยุคกลางของยุโรปบางประเทศมีขนมหวานที่ลักษณะคล้ายกับ Panna Cotta เช่น ในฮังการีมีขนมหวานที่ชื่อว่า Krémes และในฝรั่งเศสมีขนมหวานที่ชื่อว่า Blanc Manger
.
โดยปกติแล้ว Panna Cotta มักจะปรุงรสด้วยวานิลลาเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มีรสชาติใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น กาแฟ ช็อกโกแลต และผลไม้ เสิร์ฟพร้อมกับซอสผลไม้ คาราเมล หรือช็อกโกแลต เพื่อเพิ่มรสชาติ และสีสัน
.
นอกจากความหลากหลายทางด้านรสชาติแล้ว การนำเสนอ Panna Cotta ก็ได้รับพัฒนาไปด้วยเช่นกัน จากการเสิร์ฟในถ้วยราเมกิ้นแบบดั้งเดิม ไปจนถึงการแกะออกจากพิมพ์วางบนจาน พร้อมตกแต่งด้วยผลไม้สดหลากหลายชนิด
.
ในปี 1960 Ettore Songia (เอตโตเร ซองเกีย) เชฟชื่อดังของร้านอาหาร “i tre citroni” ในอิตาลีได้เพิ่มสูตร Panna Cotta ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันลงในเมนูร้านอาหาร โดย Panna Cotta ของเขาขึ้นชื่อในเรื่องความนุ่มละมุน และครีมมี่ สิ่งนี้ทำให้ Panna Cotta ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วทั่วอิตาลี
.
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 Panna Cotta เริ่มได้รับความนิยมในหลายประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากชาวอิตาลีย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น โดยเฉพาะอเมริกา และพวกเขาก็นำเอาวัฒนธรรมการทำอาหารติดตัวไปด้วย
.
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Panna Cotta กลายเป็นเมนูขนมหวานที่ได้รับความนิยมในระดับนานาชาติ เชฟยุคใหม่เริ่มนำเสนอรสชาติที่หลากหลาย เช่น มัทฉะ ลาเวนเดอร์ อัลมอนด์ กะทิ และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงมีการตกแต่งให้มีความน่าสนใจหลากหลายรูปแบบด้วยค่ะ

วัตถุดิบส่วนที่ 1

  1. ผงวุ้น 2 ช้อนชา
  2. ผงเจลาติน 2 ช้อนชา
  3. กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
  4. วิปปิ้งครีม 250 กรัม
  5. น้ำตาลทราย 100 กรัม
  6. นมสดรสจืด 250 กรัม

วัตถุดิบส่วนที่ 2

  1. น้ำตาลทราย 20 กรัม
  2. เกลือ 1 ช้อนชา
  3. ผงวุ้น 1 ช้อนชา
  4. ผงเจลาติน 1 ช้อนชา
  5. น้ำส้มแท้ 100% 300 มิลลิลิตร
  6. น้ำสะอาด ถ้าข้นไปเติมเพิ่มได้
  7. เนื้อส้ม 1 ถ้วย

 

ขั้นตอนวิธีการทำ

  1. ขั้นตอนแรกใส่น้ำส้ม ผงวุ้น และเจลาตินลงไปในหม้อ พักไว้ 5 นาที จากนั้นเปิดเตา
  2. ต้มด้วยไฟอ่อนให้พอเดือดเดือด ระหว่างนี้ให้คนตลอดเวลาเพื่อให้ส่วนผสมละลายเข้ากันดี ปรุงรสด้วยเกลือ และน้ำตาลทราย
  3. ตักส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 ในปริมาณครึ่งภาชนะแล้วนำไปพักไว้ในตู้เย็นให้เนื้อขนมเซทตัว
  4. ใส่น้ำสะอาด ผงวุ้น และผงเจลาตินลงไปในหม้อ พักไว้ 5 นาที ตามด้วยนมสด จากนั้นนำไปต้มด้วยไฟกลาง ใช้ตะกร้อมือคนให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน เมื่อเริ่มเดือด
  5. แล้วให้ใส่น้ำตาลทราย วิปปิ้งครีม และกลิ่นวานิลลา เมื่อเริ่มเดือดอีกครั้งให้ปิดเตาได้เลย
  6. นำส่วนผสมที่เซทตัวแล้วออกมาจากตู้เย็น ใส่ส่วนผสมที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 3 ลงไป โดยใช้ตะแกรงรองก่อน เพื่อไม่ให้มีฟองอากาศ นำไปพักในตู้เย็นอีกครั้ง
  7. ขั้นตอนสุดท้ายตกแต่งหน้าขนมด้วยเนื้อส้มให้สวยงาม เป็นอันเสร็จสิ้นรับประทานได้เลย

แนะนำสูตรขนมสำหรับคนลดน้ำหนัก

ใครที่กำลังทาน อาหารคีโต กำลังควบคุมน้ำหนัก หรือเป็นหนึ่งคนที่กำลังประสบปัญหาโรคเบาหวานก็สามารถทาน พานาคอตต้า ได้เช่นเดียวกันค่ะ โดยการนำ สูตรขนม ที่เราได้แนะนำไปปรับใช้ได้ด้วยการงดใช้วัตถุดิบบางชนิด แล้วใส่วัตถุดิบอื่น ๆ ที่สามารถใช้แทนกันได้ ยกตัวอย่าง การใส่สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น อิริทริทอล โยเกิร์ต หรือจะใช้ความหวานจากผลไม้แทนก็ได้ความอร่อยที่ไม่แตกต่างกันมาก แถมยังดีต่อสุขภาพ ทานแล้วไม่อ้วนด้วยค่ะ

การแบ่งชนิดของแป้งสาลีไทย

ชนิดแป้งสาลีในไทยแบ่งตามเกณฑ์ที่คล้ายกับโรงโม่ แต่จะไม่มีการระบุปริมาณเถ้า ดังนั้นสิ่งที่บอกความแตกต่างของแป้งแต่ละชนิดได้ดีก็คือปริมาณโปรตีนที่มีอยู่ในแป้งนั่นเอง

  1. แป้งขนมปัง ทำจากข้าวสาลีชนิดแข็ง มีโปรตีน 12-14.5% ลักษณะเป็นสีครีมเนื้อหยาบ นำไปทำขนมปังได้ทุกชนิด
  2. แป้งอเนกประสงค์ ทำจากข้าวสาลีชนิดแข็งและอ่อนรวมกัน มีโปรตีน 10-12% มีสีขาวมากกว่าแป้งขนมปัง เหมาะสำหรับทำเปลือกพาย ขนมปังบางชนิด ปาท่องโก๋ และคุกกี้
  3. แป้งเค้ก ทำจากข้าวสาลีชนิดอ่อน มีโปรตีน 7-9% อนุภาคละเอียดมาก มีสีขาว กว่าแป้งขนมปังและแป้งสาลี อเนกประสงค์ มีอยู่ 2 ชนิด คือ แป้งเค้กที่มีการเติมคลอรีนเข้าไป ในประเทศไทยเรียกว่าแป้งเค้กชนิดพิเศษ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “แป้งตราพัดโบก” เป็นแป้งที่มีความขาวมากที่สุด เพราะการเติมคลอรีน จะช่วยให้แป้งขาวและกลูเตนแข็งแรงมากขึ้น จึงเหมาะสำหรับทำเค้กที่มี องค์ประกอบของไขมันและน้ำตาลสูงอย่างเค้กเนย เพราะแป้งจะพองตัวเร็ว อบแล้วคงตัวง่าย เนื่องจากแป้งที่ใส่คลอรีน จะดูดน้ำตาลได้ดี และกลูเตนมีความ แข็งแรงขึ้น ส่วนแป้งเค้กอีกหนึ่งชนิด คือแป้งที่ไม่มีการเติมคลอรีน หรือที่เรียกติดปากกันว่า “แป้งตราบัวแดง” ใช้สำหรับทำซาลาเปา ปุยฝ้าย แยมโรล และคุกกี้บางชนิด ทำให้ขนมที่ได้ มีความนุ่มและขาว เนื่องจากแป้งเค้กมีความเบานุ่มมากที่สุด มีปริมาณแป้งและน้ำตาลสูงมาก ดังนั้นเมื่อแป้งเค้กผสมกับเนยและน้ำตาล จะทำให้โครงสร้างเสียและยุบตัว ด้วยสาเหตุนี้ การใส่คลอรีนในแป้งเค้กจะช่วยให้โครงสร้างของขนมเค้กแข็งแรงขึ้น
  4. เซลฟ์เรสซิ่ง (self-raising) หรือที่เรียกว่า “แป้งฟูเอง” ซึ่งก็คือ แป้งที่ผสมผงฟู ช่วยทำขนมได้สะดวกขึ้น เพราะไม่ต้องตวงผลฟูให้ยุ่งยาก บางยี่ห้อมีการเติมเกลือเข้าไปด้วย เป็นแป้งที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับคนที่ไม่อยากซื้อวัตถุดิบหลายอย่าง โดยเฉพาะผงฟูที่ใช้ในปริมาณไม่มาก แต่ข้อเสีย ของแป้งชนิดนี้คือทำให้ขนมไม่มีความยืดหยุ่นเท่าที่ควร เพราะขนมแต่ละสูตรมีปริมาณผงฟู ไม่เท่ากัน การใช้แป้งเซลฟ์เรสซิ่งที่มีสูตรพื้นฐานเดียวกันจะทำให้ได้ขนมไม่ตรงตามสูตร ที่กำหนดไว้ อีกทั้งอายุการเก็บของแป้งก็สั้นกว่าแป้งปกติเพราะหลังจากเปิดถุงแล้วแป้งจะสัมผัส อากาศ ทำให้ผงฟูเริ่มทำงาน (ออกซิเดชัน) แม้จะไม่มีการอบ ผงฟูก็ยังทำงานต่อไปเรื่อยๆ เมื่อเรานำมาทำขนมอีกครั้งผงฟูก็จะทำงานได้น้อยลง

อ้างอิง: เอกสารประกอบการเรียน หลักการผลิตเบเกอรี่และเพสตรี้